1. ความชอบ/ความหลงใหล (Passion) การหลงใหลในบางสิ่งขณะกำลังเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งเป็นความจริงสำหรับโครงการที่หวังจะสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เว้นแต่ธุรกิจนั้นจะไม่โดดเด่นพอสำหรับความสำเร็จในตอนท้าย นอกจากนี้การมองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายได้ ตัวอย่างเช่น มูลนิธิสัตว์ป่าแอฟริกา (African Wildlife Foundation) ทำผลงานที่ยิ่งใหญ่และสำคัญแต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำให้เกิด passion ดังนั้นถ้าต้องการเป็นนักธุรกิจเพื่อสังคมที่ดีจึงควรลงมือทำอะไรบางอย่างในขอบเขตที่นอกเหนือจากการอนุรักษ์สัตว์ป่าด้วย หากต้องการได้แรงบันดาลใจให้ออกไปท่องเที่ยวและเดินทางเพื่อต่อยอดประสบการณ์ 2. Domain Knowledge (ความรู้) ในที่นี้ผู้ประกอบการต้องมีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม หรือสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจของตนเองอย่างแท้จริง เป้าหมายหลักของธุรกิจอาจไม่สร้างรายได้หากทำธุรกิจโดยไม่ศึกษาข้อมูลหรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ มากพอ 3. Innovation (นวัตกรรม) โดยทั่วไปนวัตกรรมมักเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ทำกำไร หลายคนเชื่อว่า social entrepreneurship ต้องมีนวัตกรรมเพราะ “ปัญหาสังคมจะไม่เกิดขึ้นหากได้รับการจัดการด้วยวิธีที่ถูกต้อง” แนวคิด social entrepreneurship เป็นแนวทางค่อนข้างใหม่ อาจกล่าวได้ว่าความคิดหรือสิ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเป็นจริงได้ ที่มา How to Generate Social Entrepreneurship Ideas: 3 Successful Social Entrepreneurs and How You Can Make a...