7 ข้อที่ควรรู้ก่อนเริ่มทำธุรกิจเพื่อสังคม

1. IDEA – แนวคิด

ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักเริ่มจากแนวคิดที่ดี และแนวคิดที่ดีนั้นมักเกิดจากการเข้าใจถึงปัญหาและเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานั้นๆ
สำหรับธุรกิจเพื่อสังคม แนวคิดที่ดีนอกจากการเข้าใจปัญหาแล้ว ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อชุมชนด้วย เพราะหากขาดการคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นแนวคิดที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

2. SKILLS & KNOWLEDGE – ความรู้และทักษะ

ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม นักธุรกิจแบ่งปันหรือนักธุรกิจอื่น ๆ จำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถด้านการจัดการ เพื่อให้ธุรกิจนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ และนอกเหนือจากความรู้ ความคิด ความสนใจ ของพวกเขาแล้ว นักธุรกิจที่ดีควรมีทักษะและความสามารถในการปรับตัว รวมถึงความรู้ด้านการเงิน การตลาด กฎหมาย การทำงานเป็นทีม และกระบวนการการจัดการอีกด้วย
เราสามารถหาทีมหรือที่ปรึกษามาช่วยเหลือคุณในส่วนนี้ได้หากยังไม่มีความชำนาญเพียงพอ

3. MINDSET – ทัศนคติ
เมื่อไม่นานมานี้องค์กรชั้นนำอย่าง Gallup ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มนักธุรกิจกว่า 2,500 คน เพื่อหาว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเกิดขึ้น เติบโต ก่อให้เกิดอาชีพและสร้างผลกำไรนั้นคืออะไร
จากการวิจัยพบว่า 10 ทักษะสำคัญที่ทำให้นักธุรกิจประสบความสำเร็จคือ ความสนใจในธุรกิจ ความมั่นใจ ความคิดสร้างสรรค์ การมอบหมายหน้าที่ การตัดสินใจ การเป็นตัวของตัวเอง การใฝ่หาความรู้ การสนับสนุนผู้อื่น การสร้างความสัมพันธ์ และ การยอมรับความเสี่ยง

นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น Bill Gates, Jeff Bezos, Dhirubhai Ambani, Ratan Tata หรือ Verghese Kurien ต่างก็มีลักษณะเฉพาะที่ถูกพูดถึงมากพอๆกับทักษะและความสามารถของพวกเขา ดังนั้นความรู้ ทักษะ ทัศนคติและการเข้าถึงบทบาทที่สำคัญล้วนมีผลต่อการเป็นนักธุรกิจเพื่อสังคมหรือนักธุรกิจแบ่งปันเช่นกัน

4. MONEY & FINANCE – เงินและการบริหารเงินทุน
นักธุรกิจส่วนใหญ่มักระดมเงินทุนเพื่อไปเริ่มกิจการและใช้ในการดำเนินธุรกิจ หลายครั้งการระดมเงินทุนเป็นอะไรที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักธุรกิจเพื่อสังคมหรือนักธุรกิจแบ่งปันที่เน้นทำธุรกิจที่ไม่ได้แสวงหาผลกำไรสูงสุด โดยธุรกิจเพื่อสังคมอาจใช้ระยะเวลาการสร้างกำไรที่นานกว่า เนื่องด้วยนักธุรกิจเพื่อสังคมเหล่านั้นทำงานในสถานการณ์ที่ท้าทายอยู่บ่อยครั้ง ในขณะเดียวกันนักลงทุนส่วนใหญ่มักมองหาธุรกิจที่ให้ผลกำไรสูง สมเหตุสมผล และรวดเร็วทันใจ ดังนั้นการอดทนกับเงินทุนจำนวนน้อย เป็นสิ่งจำเป็นในการเริ่มต้นทำธุรกิจเพื่อสังคมและความยั่งยืน

5. CO-FOUNDERS & TEAM – ผู้ร่วมก่อตั้งและทีมงาน
หนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของนักธุรกิจเมื่อเริ่มก่อตั้งธุรกิจคือการมองหาผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งโดยปกติแล้วบุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่ร่วมแบ่งปันทัศนวิสัย มีรูปแบบการทำงานคล้ายกับคุณ และมักจะมีทักษะอื่นๆ ที่หาได้ยาก แต่แท้จริงแล้วการมีผู้ร่วมก่อตั้ง หมายถึง การมีใครสักคนที่สามารถช่วยเหลือคุณ แลกเปลี่ยนความคิดต่อกันละกัน และพร้อมที่จะรับความเสี่ยงไปด้วยกัน

6. MENTORS – ที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาที่ดีจะสามารถช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถช่วยเหลือนักธุรกิจมือใหม่ ผ่านการให้คำปรึกษาที่เกี่ยวกับธุรกิจของพวกเขาอย่างเป็นกลางและตรงไปตรงมา สามารถเชื่อมต่อนักธุรกิจเหล่านั้นกับกลุ่มคนที่เหมาะสม คอยช่วยดูว่านักธุรกิจกำลังดำเนินธุรกิจของเขาไปในทางที่ถูกต้อง และคอยกระตุ้นให้พวกเขามีแรงบันดาลใจอยู่เสมอ ที่ปรึกษาที่มาจากสายงานเดียวกันนั้น ถือเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับพวกนักธุรกิจมือใหม่ทั้งหลาย

7. NETWORK – เครือข่าย

ไม่นานมานี้ กรณีศึกษา ของ The Economist Intelligence Unit พบว่า การมีเครือข่ายแบบที่ไม่เป็นทางการมีความสำคัญต่อความสำเร็จของนักธุรกิจเพื่อสังคมหรือนักธุรกิจแบ่งปัน ไม่แพ้การมีเครือข่ายที่เป็นแบบทางการ คำแนะนำและการสนับสนุนจากหมู่เพื่อน โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นธุรกิจที่เต็มไปอุปสรรคที่หลากหลาย บุคคลเหล่านี้สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องแนวทางกฎหมายและข้อควรระวังเกี่ยวกับระบบนิเวศน์ และในกรณีที่ต้องติดต่อกับลูกค้าหรือทดสอบผลิตภัณฑ์ เครือข่ายเหล่านี้สามารถช่วยนักธุรกิจเพื่อสังคมหรือนักธุรกิจแบ่งปันได้เป็นอย่างดี