7 ทักษะ สำหรับการเป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม

คุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม คือ การพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขประเด็นทางสังคม เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบความยุติธรรมทางสังคม

ทักษะที่นำไปสู่ความสำเร็จของการเป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม มีดังต่อไปนี้

1. ตระหนักถึงปัญหาทางสังคมที่ไม่เป็นธรรม

การระบุปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ซึ่งบ่อยครั้งที่พวกเขาเลือกสถานการณ์ทางสังคมที่มั่นคงแต่ไม่ยุติธรรม รวมไปถึงเรื่องคนชายขอบที่เป็นปัญหาส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ ประชากรเหล่านี้ต่อสู้เพราะขาดทรัพยากรและไม่สามารถรักษาเสรีภาพของตัวเองอันเนื่องมาจากความอยุติธรรมทางสังคม, เศรษฐกิจและการเมือง อาจกล่าวได้ว่า มูฮัมหมัดยูนุส คือ “father of microcredit” หรือผู้มองเห็นภาวะไร้ความสามารถของประชากรชาวบังคลาเทศที่ยากจน ซึ่งพวกเขาไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการกู้ยืมผ่านระบบธนาคารได้

2. การชี้วัดโอกาสทางธุรกิจ

ยูนุสไม่เพียงแต่ระบุปัญหาที่เกิดขึ้น แต่เขายังกล่าวถึงวิธีการจัดการกับปัญหานั้นด้วย
ธนาคารของเขา Grameen Bank ใช้วิธีการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินกู้ขนาดเล็กให้แก่สตรีชาวบังคลาเทศที่ยากจน และใช้เงินที่ได้รับดอกเบี้ยเพื่อช่วยให้กู้ยืมแก่สตรีคนอื่นๆ ยูนุสเห็นว่านี่เป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้นักธุรกิจเพื่อสังคมเห็นถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของสตรีชาวบังคลาเทศ และยอมรับว่ามันเป็นเพียงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม การระบุโอกาสทางธุรกิจควรมาพร้อมกับความคิดที่เปิดกว้างและสัญชาตญาณพิเศษ

3. การสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงผ่านการมีส่วนร่วม

Jason Aramburu ผู้เริ่มต้นจากการศึกษาถ่านชีวภาพ หรือไบโอชาร์ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ทำขึ้นจากขยะของพืช ในสมัยที่เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์การวิจัยด้าน Climate Mitigation Initiative ที่ Princeton University และในปีพ.ศ.2551 เขาก่อตั้งองค์กร “Re: char” ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยส่งมอบไบโอชาร์แก่เกษตรกรในโลกที่สาม เพื่อสนับสนุนการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน เช่น ในเขตตะวันตกของเคนยา เกษตรกรรายย่อยใช้ปุ๋ยที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม เหตุนี้เอง Aramburu จึงเห็นความสำคัญของปุ๋ยที่ดีและราคาไม่แพง เขาประยุกต์ใช้ทักษะและความชำนาญด้านวิทยาศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงทางการเกษตร

4. การดำเนินงานอย่างตรงจุด

นักธุรกิจเพื่อสังคมมักไม่ค่อยพอใจกับการจัดสรรเงินทุนเพื่อแก้ไขปัญหา พวกเขาจึงดำเนินการทางตรงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก Muhammad Yunus และ Jason Aramburu ได้กล่าวไว้ว่า แต่ละบุคคลมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมเพิ่มขึ้นในสังคมได้ และพัฒนามาเป็นโอกาสทางธุรกิจของตน
การให้ความสำคัญในเชิงปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการดำเนินการทางตรงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งการจัดตั้งองค์กร และเครือข่ายต่างๆ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อกำหนดการเปลี่ยนแปลงที่เอื้อประโยชน์แก่นักธุรกิจเพื่อสังคม นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานโดยตรงกับชุมชน เพื่อการรับทราบและทำความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงพร้อมหาแนวทางการแก้ไขต่อไป

5. การพูดในที่สาธารณะ

นักธุรกิจเพื่อสังคมจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ของการสื่อสารในที่สาธารณะ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจผ่านมุมมองต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นเรื่องท้าทายต่อผู้ที่ตระหนักถึงความไม่เสมอภาคทางสังคมได้ การพูดในที่สาธารณะเป็นอีกหนึ่งวิธีสู่การบรรลุเป้าหมาย เนื่องจากเป็นการรวมเอาปัจจัยที่สำคัญหลายประการประกอบกับความคิดที่คล้ายคลึงกันเพื่อสามารถเข้าถึงความรู้สึกของบุคคลในชุมชนนั้นๆ ดังนั้น ผู้นำหรือบุคคลสาธารณะที่ประชาชนสามารถเชื่อ และให้การสนับสนุน อาจได้รับแรงผลักดันมาจากวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของเขา และการสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ

6. การต่อสู้กับความยากลำบาก

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความมุ่งมั่นต่อความยุติธรรมทางสังคม และการต่อสู้เพื่อชุมชน พวกเขาเผชิญกับความท้าทายในชีวิตประจำวัน ซึ่งมาจากการเสริมสร้างเสถียรภาพและความไม่เท่าเทียมทางการเมืองและสังคม นักธุรกิจเพื่อสังคมต้องพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรม เพื่อต่อสู้กับความยากลำบากที่เกิดขึ้น พวกเขาต้องมีทั้งความกระตือรือร้นและความสามารถเชิงปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ อุปสรรคที่ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหา คือ เรื่องงบประมาณ และเครือข่ายองค์กรที่ไม่เพียงพอ ความท้าทายเหล่านั้นถือเป็นโอกาสในการเอาชนะความทุกข์ยาก ซึ่งเป็นภารกิจของนักธุรกิจเพื่อสังคมอย่างแท้จริง

7. ความคิดสร้างสรรค์

นักธุรกิจเพื่อสังคมควรหาโอกาสทางธุรกิจในสถานการณ์อื่นๆด้วย พวกเขายังต้องหาวิธีการอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นโดยการคิดนอกกรอบ โอกาสเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างถูกวิธี ดังนั้น นักธุรกิจเพื่อสังคมควรเป็นนักพัฒนานวัตกรรมและทำในสิ่งที่คนอื่นไม่สามารถทำได้ เช่น การรับรู้และการดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่เสมอภาคต่างๆเพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้น

ที่มา
https://onlinemasters.ohio.edu/seven-skills-for-social-entrepreneurs/